ลอนลูกฟูก ( Corrugations Flute )

เราทุกคนต่างทราบกันดีว่า ถ้าเส้นโค้งนำมาปรับให้เหมาะสม จะเป็นการทำให้พื้นที่ที่ต้องการทอดข้าม เกิดความแข็งแรงมากที่สุด ดังนั้นผู้ผลิตกระดาษลูกฟูกจึงนำหลักการเดียวกันนี้ เข้ามาใช้ในการผลิตความโค้งของลอนกระดาษลูกฟูก โดยเราเรียกเส้นโค้ง ของกระดาษนี้ว่า ” ลอนลูกฟูก ” และเมื่อนำลอนนี้มาติดกับแผ่นกระดาษเรียบ (Linerboard ) พวกมันจะสามารถทนทานต่อความโค้งงอและแรงกดได้จากทุกทิศทางลอนลูกฟูกมีหลายชนิดโดยลอนแต่ละประเภทจะมีขนาดและความสูงของ ลอนไม่เท่ากัน รวมถึงความเหมาะสมกับการใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ตารางด้านล่างจะเป็นการนำลอนแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบ เพื่อทำความเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น​

ลอน A

วางซ้อนกันได้มากชั้น + ปกป้องสิ่งของภายในได้ดี

 ลอน A เป็นลอนต้นแบบและเป็นลอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดังนั้นเมื่อนำไปประกอบกับกระดาษทำผิวกล่องด้านในและด้านนอกแล้วจะมีความหนา ของแผ่นกระดาษลูกฟูกมากที่สุด ด้วยจำนวน 36 ลอนต่อความยาวฟุต เมื่อนำลอน A ไปผลิตเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก จะสามารถรับแรงกระแทกและกดทับได้มากที่สุด จึงเหมาะสำหรับบรรจุสิ่งของที่บอบบาง แตกง่าย เนื่องจากลอน A มีระดับความแข็งแรงสูง รับน้ำหนักและแรงกดทับได้มาก ลอน A จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า

ลอน B

ต้านทานการทิ่มทะลุได้ดี + นิยมใช้มาก + เหมาะสำหรับบรรจุเครื่องกระป๋อง

ลอน B นับเป็นลอนที่ 2 ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมลูกฟูก มีความสูงของลอนน้อยกว่าลอน A และมีจำนวนลอนต่อความยาวฟุตมากกว่า โดยลอน B มีจำนวน 50 ลอนต่อฟุต ซึ่งหมายความว่า ลอน B มีจุดสัมผัสกับกระดาษทำผิวกล่องมากกว่าลอน A ทำให้แผ่นกระดาษลูกฟูกลอน B มีพื้นผิวที่แข็งและเรียบตึงกว่า ซึ่งจะส่งผลให้งานพิมพ์ออกมามีคุณภาพสวยงาม เมื่อนำไปทำกล่องไดคัทก็จะได้กล่องที่สวยงาม มีคุณสมบัติในการต้านทานแรงกดสูง นอกจากนี้ลอน B ยังเหมาะที่จะใช้กับเครื่องบรรจุแบบอัติโนมัติที่มี่ความเร็วสูง และยังนิยมนำไปผลิตเป็นแผ่นรอง แผ่นกั้น และส่วนประกอบต่างๆ ภายในกล่องอีกด้วย นอกจากนี้ลอน B ยังเหมาะที่จะนำไปบรรจุสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์กระป๋อง ทำกล่องไดคัทที่ซับซ้อน และถาดใส่เครื่องดื่ม โดยทั่วไปแล้วลอน B มักจะนำไปประกอบกับกระดาษทำผิวกล่องที่มีน้ำหนักเบา อย่างไรก็ตาม กระดาษทำผิวกล่องที่มีน้ำหนักมากก็สามารถประกอบกับลอน B ได้ ตามความต้องการ

ลอน C

- วางซ้อนและปกป้องสินค้าได้ดี + นิยมใช้งานมากที่สุด + เหมาะสำหรับบรรจุเครื่องแก้ว เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์นม

ลอน C ได้ถูกคิดค้นต่อมาเพื่อรวมความแตกต่างระหว่างลอน A กับลอน B เข้าด้วยกัน โดยลอน C มีจำนวนลอนต่อความยาวฟุต อยู่ที่ 42 ลอน มีความหนาน้อยกว่าลอน A แต่มากกว่าลอน B ทำให้ลอน C มีคุณสมบัติในการรับแรงกระแทก การรับแรงกดทับ และคุณภาพงานพิมพ์ ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ดังนั้นลอน C จึงเป็นที่นิยมใช้งานอย่างมากที่สุด เมื่อเทียบกับลอนลูกฟูกอื่นๆ โดยประมาณ 80% ของบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกในปัจจุบัน ผลิตจากแผ่นกระดาษลูกฟูกลอน C

ลอน E

ลอนไมโครน้ำหนักเบา + งานพิมพ์คุณภาพสูง + เหมาะสำหรับการผลิตเป็นกล่องไดคัท

ลอน E มีจำนวนลอนต่อความยาวฟุตอยู่ที่ 94 ลอน ซึ่งทำให้กระดาษลูกฟูกลอน E มีความต้านทานแรงกระแทกสูงมาก และมีพื้นผิวที่เรียบตึง ส่งผลให้งานพิมพ์มีคุณภาพสูงมากเช่นกัน ลอน E มีความหนาเพียงแค่ 1 ใน 4 ของลอน C เท่านั้น กล่องลูกฟูกลอน E จึงมีขนาดเล็ก ซึ่งทำให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ เนื่องจากความบางและคุณสมบัติในการรับแรงกระแทก ลอน E จึงสามารถนำมาใช้แทนกล่องลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์ไฟเบอร์ได้ การใช้งานลอน E ได้แก่ กล่องใส่เครื่องสำอาง เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง และเครื่องมือเครื่องใช้ที่บอบบางต่างๆ ในปัจจุบันกล่องลอน E เริ่มเป็นที่นิยมนำมาผลิตเป็นกล่องฟิซซ่ามากขึ้น เนื่องจากลูกค้าต้องการกล่องที่มีราคาคุ้มค่า งานพิมพ์สวยงาม และสามารถปกป้องสินค้าได้ดี

ลอน F

บางเฉียบ

ลอน F มีขนาดเล็กมาก โดยมีความหนาเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของลอน E เท่านั้น ในปัจจุบัน ลอน F เริ่มเป็น

ที่นิยมสูงในอุตสาหกรรมลูกฟูก ลอน F เป็นลอนใหม่ที่สุดที่ถูกนำมาใช้งาน โดยชาวยุโรปเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาขึ้นมา

เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีองค์ ประกอบของใยไม้ (ไฟเบอร์) ที่น้อยลง ผู้ผลิตสามารถลดปริมาณใยไม้ในการผลิต

บรรจุภัณฑ์ลงได้โดยการใช้ลอน F ด้วยวิธีนี้เองเราจึงสามารถผลิตกล่องที่มีความแข็งแรงสูงขึ้น และยังสามารถลด

ปริมาณขยะแห้งที่นำไปฝังกลบได้อีกด้วย ในยุโรปลอน F ถูกนำมาใช้กับงานบรรจุภัณฑ์พิเศษ, งานแสดงสินค้า,

กล่องอัญมณี, กล่องเครื่องสำอาง และกล่องรองเท้า ในสหรัฐอเมริการ้านแมคโดนัลด์ได้นำลอน F ไปบรรจุบิ๊กแมค

นอกจากนี้ร้านแดรี่ควีนยังนำลอน F มาบรรจุแซนด์วิชและฮอทดอกอีกด้วย

ประเภทของลอนลูกฟูก

โดยทั่วไปแล้ว ลอนลูกฟูกที่มีขนาดใหญ่กว่า จะมีความแข็งแรงสูงกว่า และสามารถรองรับแรงกระแทกได้มากกว่า ในขณะที่ลอนลูกฟูกขนาดเล็กกว่าจะพับขึ้นรูปได้ง่ายกว่า ได้มุมที่ความเฉียบคมกว่า และให้งานพิมพ์บนกล่องที่มีความสวยงามมากกว่า แผ่นกระดาษลูกฟูกหนึ่งแผ่น อาจประกอบด้วยลอนลูกฟูกหลายขนาดผสมกัน เพื่อให้ได้งานพิมพ์ที่สวยงาม ประกอบกับมีความแข็งแรงสูงขึ้น ทั้งการรับแรงกด แรงกระแทกต่างๆ และขนาดความหนาของแผ่นกระดาษลูกฟูก ตัวอย่างเช่น แผ่นกระดาษลูกฟูก 2 ชั้น ลอน CE จะมีความแข็งแรงเนื่องจากลอน C ในขณะที่ลอน E ทำให้กระดาษมีพื้นผิวที่เรียบตึง เมื่อนำไปพิมพ์จะได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง

เปรียบเทียบคุณสมบัติของแต่ละประเภท

ลอน A

(ลอนใหญ่)
การรับแรงในการเรียงซ้อน
ดีมาก
คุณภาพการพิมพ์
แย่
คุณภาพการตัดและอัด
แย่
ความต้านทานต่อการเพิ่มทะลุ
ดี
การใช้งานในการเก็บคงคลัง
ดีมาก
การทับเส้น/การทับพับ
แย่
การป้องกันการสั่นและการกระแทก
ดีมาก
การดันทะลุ
ไม่เหมาะ

ลอน B

(ลอนเล็ก)
การรับแรงในการเรียงซ้อน
พอใช้
คุณภาพการพิมพ์
ดี
คุณภาพการตัดและอัด
ดี
ความต้านทานต่อการเพิ่มทะลุ
พอใช้
การใช้งานในการเก็บคงคลัง
พอใช้
การทับเส้น/การทับพับ
ดี
การป้องกันการสั่นและการกระแทก
พอใช้
การดันทะลุ
ดี

ลอน C

(ลอนกลาง)
การรับแรงในการเรียงซ้อน
ดี
คุณภาพการพิมพ์
พอใช้
คุณภาพการตัดและอัด
พอใช้
ความต้านทานต่อการเพิ่มทะลุ
ดีมาก
การใช้งานในการเก็บคงคลัง
พอใช้
การทับเส้น/การทับพับ
พอใช้
การป้องกันการสั่นและการกระแทก
ดี
การดันทะลุ
พอใช้

ลอน E

(ลอนจิ๋ว)
การรับแรงในการเรียงซ้อน
พอใช้
คุณภาพการพิมพ์
ดีมาก
คุณภาพการตัดและอัด
ดีมาก
ความต้านทานต่อการเพิ่มทะลุ
เลว
การใช้งานในการเก็บคงคลัง
เลว
การทับเส้น/การทับพับ
ดีมาก
การป้องกันการสั่นและการกระแทก
เลว
การดันทะลุ
พอใช้